แจกทริกเลือกยารักษาสิว และเจลล้างหน้ารักษาสิวให้เหมาะกับสิวแต่ละประเภท

ยารักษาสิว
แชร์บทความนี้
Share on facebook
Share on twitter

           สิว หนึ่งในปัญหาผิวที่พบเจอได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย และมักจะพบมากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่น โดยการเกิดสิวนั้น มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย แต่ไม่ว่าจะเป็นสิวที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ รวมไปถึงยังเป็นตัวการที่ทำให้ความมั่นใจลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีสิวขึ้นบนบริเวณใบหน้ามากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นในบทความนี้ ZERMIX จะพาทุกคนมาเจาะลึกเรื่องสิว รวมไปถึงยาที่ใช้รักษาสิว และเจลล้างหน้ารักษาสิวให้เหมาะกับสภาพผิวของคุณ

สาเหตุการของการเกิดสิว

           สาเหตุการเกิดสิวนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย เพื่อให้การป้องกันสิวได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด การทำความเข้าใจสาเหตุของการเกิดสิวคร่าว ๆ ทั้ง 4 ปัจจัยนี้ต่อไปนี้ คือสิ่งสำคัญที่คุณควรรู้

1. เซลล์ในรูขุมขนเพิ่มจำนวนมากเกินไป

           Keratinocyte คือชื่อของหนึ่งในเซลล์ภายในรุมรูขุมขน เล็บ และผมของมนุษย์ทุกคน มีหน้าที่ในการสร้างเคราตินเพื่อบำรุงให้ผิว หรือเส้นขนบริเวณที่มีเซลล์ชนิดนี้อยู่นั้นแข็งแรง และมีสุขภาพที่ดี แต่หากเซลล์เหล่านี้มีการเติบโตที่รวดเร็ว และเพิ่มจำนวนมากจนเกินไปนั้น จะส่งผลให้เซลล์เกิดการอุดตันอยู่ภายในรูขุมขน เมื่อเซลล์ น้ำมันจากผิว สิ่งสกปรก และแบคทีเรียต่าง ๆ เริ่มอุดตันกันมากขึ้นรวมอยู้ในรูขุมขน จะทำให้เกิดสิวอุดตันขึ้นบนผิวนั่นเอง

2. ต่อมไขมันในผิวผลิตน้ำมันมากจนเกินไป

           โดยทั่วไปแล้ว ผิวหนังของมนุษย์จะมีการผลิตไขมัน (Sebum)  จากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous glands)  ออกมาเคลือบผิวเพื่อสร้างความชุ่มชื้น และกักเก็บน้ำบนผิวไม่ให้สูญเสียจนเกิดอาการผิวแห้ง แต่หนึ่งสาเหตุที่ทำให้ต่อมไขมันบนผิวผลิตน้ำมันมากเกินไปนั้น สามารถเกิดได้จากฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน โดยกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจนนั้น จะทำให้เซลล์ต่อมไขมันอย่าง Sebocyte แบ่งตัวมากขึ้น ซึ่งต่อมไขมันดังกล่าวมีหน้าที่ในการผลิตไขมัน (Sebum)  เมื่อ Sebocyte มากขึ้น การผลิตไขมันก็จะมากขึ้นเช่นกัน ทำให้เกิดปัญหาผิวผลิตน้ำมันมากจนเกินไป และทำให้เกิดปัญหาสิวอุดตัน สิวอักเสบ และผิวหนังอักเสบตามมาได้นั่นเอง

3. Propionibacterium (P.acne) เชื้อแบคทีเรียบนผิว

           แม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัด แต่ Propionibacterium (P.acne) ก็เป็นหนึ่งในแบคทีเรียบนผิวที่ถูกตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นแบคทีเรียที่กระตุ้นให้เกิดสิวเช่นกัน โดย P.acne นั้น เป็นแบคทีเรียที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปบนผิวของมนุษย์ บทบาทของ P.acne บนผิวนั้นคือมันจะย่อยสลายไตรกีเซอไรด์ หนึ่งในไขมันจากการผลิตไขมัน (Sebum) ให้กลายเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งกรดไขมันอิสระจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเติบโต และแพร่จำนวนของ P.acne บนผิว โดยแบคทีเรียประเภทดังกล่าวนั้นหากมีมากเกินไปบนผิว จะทำการกระตุ้นให้ผิวเกิดการอักเสบ ซึ่งจะกลายเป็นสิวอักเสบในระยะเวลาต่อมา แม้ว่าในปัจจุบัน Propionibacterium หรือ P.acne นั้น จะเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น C.acne หรือ Cutibacterium acnes และแบคทีเรียประเภทนี้นั้นยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นสาเหตุหลักของการกระตุ้นสิวอักเสบให้รุนแรงขึ้นใหม่ แต่ในกลุ่มการวิจัยมักจะพบแบคทีเรียตัวนี้ในกลุ่มของผู้ที่เป็นสิวอักเสบมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้สิวในช่วงอายุเดียวกัน ทำให้ P.acne หรือ C.acnes นั้น เป็นหนึ่งใน

4. ภาวะอักเสบของผิว

           ผลวิจัยล่าสุดค้นพบว่า การอักเสบ ในชั้นผิวหนังกระตุ้นให้เกิดสิวได้ด้วยเช่นกัน โดยการอักเสบของผิวหนังนั้น เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มที่ลำเลียงเม็ดเลือดขาวไปจัดการผิวหนังส่วนที่ถูกแบคทีเรียแทรกตัวเข้ามาในรูขุมขน การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะทำให้ผิวบริเวณดังกล่าวเกิดอาการอักเสบ มีลักษณะผิวบวม แดง เกิดจากการรวมตัวกันของเลือด โดยผลวิจัยล่าสุดนั้นบอกกับเราว่า ภาวะอักเสบดังกล่าวอาจส่งผลให้การผลิตไขมัน (Sebum) ในชั้นผิวหนัง เกิดปฏิกริยา Oxidation ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิดสิวในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง

ปัจจัยของการเกิดสิว

1. ปัจจัยภายใน

           ปัจจัยภายในที่ก่อให้เกิดสิวนั้น โดยส่วนใหญ่จะพบว่าปัญหาเกิดจากสิ่งเหล่านี้…

  • ระดับของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล 
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน 
  • พันธุกรรม 
  • ความแข็งแรงของผิว 
  • การทำงานที่ผิดปกติของต่อมไขมันภายใต้ชั้นผิวหนัง 
  • อาหารที่รับประทาน

2. ปัจจัยภายนอก

           ปัจจัยภายนอกนั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดสิว  โดยส่วนใหญ่จะพบว่าปัญหาเกิดจากสิ่งเหล่านี้… 

  • การใช้ครีมบำรุงผิวหน้าที่มีสารกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้หรืออักเสบ 
  • สิ่งสกปรกจากมลภาวะทางอากาศ 
  • การอุดตันของเครื่องสำอาง 
  • สภาพอากาศ
  • การทำความสะอาดผิวหน้าผิดวิธี
ผลิตภัณฑ์รักษาสิว

การป้องกันการเกิดสิว

  1. ทำความสะอาดผิวหน้าให้หมดจดอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอ
  2. ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือเจลล้างหน้ารักษาสิวที่ไม่ได้คุณภาพ มีสารกระตุ้นให้เกิดสิว เช่น สบู่ พาราเบน แอลกอฮอล์ และน้ำหอม เป็นต้น
  3. ใช้ครีมบำรุงผิว หรือเจลล้างหน้ารักษาสิวสูตรควบคุมความมันในกลุ่มผู้ที่มีภาวะผิวมันมากเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการอุดตันของก้อนไขมันและสิ่งสกปรก
  4. หลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภททอด หรือผัดที่มีความมันมากเกินไป
  5. หยุดนิสัยการใช้กระดาษซับหน้าบ่อย ๆ 
  6. ไม่ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ
  7. ไม่ใช้มือเปล่าสัมผัสใบหน้าหากไม่จำเป็น
  8. ไม่ออกแดดจัดโดยที่ไม่ทาครีมป้องกันแสงแดด
  9. ไม่ปล่อยให้เครื่องสำอางอยู่บนใบหน้าในขณะเข้านอน
  10. ไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่ในภาวะเครียดบ่อยจนเกินไป เพราะฮอร์โมนแปรปรวนส่งผลให้เกิดสิว

วิธีการดูแลตัวเองหากเกิดสิว

  1. ลดการใช้เครื่องสำอางเพื่อให้ผิวได้พัก และลดการอุดตันจากเครื่องสำอาง
  2. ล้างหน้าด้วยเจลล้างหน้ารักษาสิวสูตรอ่อนโยนที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิวโดยเฉพาะ
  3. ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่พอดีกับที่ร่างกายต้องการเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย
  4. ไม่ใช้มือแกะ บีบ สิวด้วยตัวเองเพราะอาจจะทำให้สิวเกิดอาการอักเสบ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีช่วงเวลาในการฟื้นฟูนตัวเอง และปรับฮอร์โมนไม่ให้แปรปรวน

การรักษาสิวโดยใช้ยา

           นอกจากวิธีการดูแลตัวเองหลังจากเกิดปัญหาสิวแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่เด็ดขาดในการรักษาสิวนั่นก็คือ กระบวนการรักษาทางการแพทย์โดยตรง โดยส่วนใหญ่จะมียาอยู่ไม่กี่ตัวที่หมอจะสั่งจ่ายเพื่อแก้ปัญหาสิวที่แตกต่างกันออกไป โดยเราจะนำยารักษาสิวที่มักจะพบเจอกันได้จากการพบแพทย์ มาอธิบายโดยละเอียดให้ทุกคนได้ทราบกัน

1. Benzoyl Peroxide

           Benzoyl Peroxide เป็นยารักษาสิวที่ให้ผลลัพธ์ในการรักษาสิวอักเสบ และสิวอุดตัน ช่วยให้หัวสิวยุบได้ไวขึ้น มีฤทธิ์ในการทำลายแบคทีเรีย และละลายสิว โดยตัวยาจะมีความเข้มข้นอยู่ที่สองระดับคือ 2.5% และ 5% แรกเริ่มในการใช้ยามักจะแนะนำให้ใช้ที่ 2.5% และค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นในภายหลัง โดยตัวยาจะมีผลข้างเคียงให้ความรู้สึกแสบร้อน  อาจมีรอยแดง ผิวลอก และอาจจะมีสิวเห่อขึ้นมาในช่วงเริ่มต้นของการใช้ เพราะฉะนั้นจึงควรใช้ในปริมาณที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด

2. Topical Retinoids 

           Tropical Retinoids เป็นยารักษาสิวที่ค่อนข้างมีฤทธิ์รุนแรง เร่งการสร้างเซลล์ผิว และผลัดเซลล์ผิว รวมไปถึงมีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบของสิว พร้อมยังสามารถช่วยสร้าง Collagen และ Elastin ใต้ชั้นผิวหนังเพื่อลดริ้วรอยบนผิวได้อีกด้วย โดย Topical Retinoids สามารถแยกย่อยออกมาได้อีก 2 ประเภทนั้นคือ

  • Adapalene มีฤทธิ์ช่วยฟื้นฟูผิว ลดอาการอักเสบของผิวและสิว พร้อมทั้งยังช่วยลดจำนวน และความรุนแรงจากสิวที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดอาการผิวแห้ง แดง ลอก รวมไปถึงรู้สึกแสบผิวเล็กน้อย เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เฉพาะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • Tretinoin มีฤทธ์ในการช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ และสร้างเซลล์ผิว รวมไปถึงมีประสิทธิภาพในการกำจัด และป้องกันสิวประเภทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล้ายกันกับ Adapalene อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการแสบ คันผิวหนัง เกิดอาการผิวลอก รอยแดง จึงควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

3. Topical Antibiotics

           Topical Antibiotics เป็นยารักษาสิวที่จัดอยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะชนิดสำหรับทารักษาสิว ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียบนผิว สาเหตุของการเกิดสิวอักเสบเป็นหลัก ไม่สามารถสลายก้อนไขมันที่อุดตันกับผิวได้ และง่ายต่อการดื้อยา ทำให้ต้องควบคุมปริมาณการใช้ตามคำแนะนำของแพทย์

  • Erythromycin จัดกลุ่มยาปฏิชีวนะสำหรับรับประทานที่ให้ฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย ช่วยลดปัญหาสิวอักเสบ และปัญหารอยแดงจากแบคทีเรียบนผิว ผลข้างเคียงอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ ปวดบริเวณท้อง ตาและผิวมีสีเหลืองผิดปกติ รวมไปถึงอาจจะส่งผลทำให้การขับถ่ายมีปัญหา จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวังตามคำสั่งแพทย์
  • Clindamycin  จัดอยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะสำหรับรับประทานเช่นกัน มีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นิยมใช้สำหรับรักษาสิวอักเสบ ร่วมกับรักษาอาการผิวหนังอักเสบ ผลข้างเคียงนั้นคล้ายกับ Erythromycin นั้นคือ อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง รู้สึกได้ถึงรสขมตลอดเวลา ผิว และตาเหลือง รวมไปถึงอาจจะทำให้ไข้ขึ้น เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงควรใช้ยาในปริมาณที่แพทย์แนะนำ

4. Azelaic Acid

           Azelaic Acid นั้น เป็นอีกหนึ่งตัวยาที่มีฤทธิ์ในการกำจัดแบคทีเรีย ตัวการของการเกิดปัญหาสิวอักเสบ รวมไปถึงยังช่วยสลายก้อนไขมันอุดตันในชั้นผิว เพื่อป้องกันปัญหาสิวอุดตันได้อีกด้วย โดยผลข้างเคียงจากการใช้ยาตัวนี้นั้น อาจส่งผลให้เกิดอาการแสบผิว ผิวแห้งเป็นขุยในบริเวณที่ใช้ยา ไปจนถึงภาวะผิวตกสะเก็ด และเกิดรอยแดง เพราะฉะนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งตัวยาที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด

สิวแบบนี้ใช้ยาแบบไหน

           หลังจากที่ทราบกันไปแล้วว่ายารักษาสิวประเภทไหน ออกฤทธิ์เพื่อแก้ปัญหาใด และมีผลข้างเคียงแบบไหนบ้าง เพราะฉะนั้นเราจะมาจัดหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่าสิวแบบไหน ควรใช้ยาแบบไหนดี

  • สิวอุดตัน ควรใช้ Benzoyl Peroxide เพื่อละลายก้อนไขมันอุดตัน
  • สิวอักเสบ ควรใช้ Topical Antibiotics ได้ทั้ง Erythromycin และ Clindamycin เน้นการยับยั้งแบคทีเรียสาเหตุของการเกิดปัญหาสิวอักเสบ
  • สิวสเตียรอยด์ ควรใช้ Benzoyl Peroxide และ Topical Retinoids เพื่อลดอาการอักเสบ
  • สิวผด ควรใช้ Topical Retinoids ประเภท Adapalene เพื่อช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิว
  • สิวฮอร์โมน ควรใช้ Topical Retinoids ได้ทั้งประเภท Adapalene และ Tretinoin 

           เป็นยังไงกันบ้าง กับเรื่องสิว ๆ ที่อ่านให้ละเอียดแล้วฟังดูไม่สิวเอาซะเลย โดยการใช้ยารักษาสิวที่ ZERMIX ได้หยิบมาแนะนำกันในบทความนี้นั้น ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยง และผลข้างเคียงหากไม่ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะฉะนั้นการใช้ยารักษาสิวทุกชนิดที่กล่าวมา ไม่ควรหาซื้อ และใช้ด้วยตัวเอง ควรมีแพทย์ให้คำแนะนำทั้งวิธีการใช้ และปริมาณอย่างเคร่งครัด ไม่เพียงเท่านี้ ZERMIX ยังมีผลิตภัณฑ์อย่างเจลล้างหน้ารักษาสิว ๆ มาฝาก สามารถใช้คู่กับการรักษาสิวได้ทุกอย่างชนิดอย่าง ZERMIX Acne Pro Cleansing เจลล้างหน้ารักษาสิวอุดตัน

ZERMIX Acne Pro Cleansing เจลล้างหน้ารักษาสิวอุดตัน

เจลล้างหน้ารักษาสิว

           เซอร์มิกซ์ แอคเน่ โปร คลีนซิ่ง คือผลิตภัณฑ์เจลล้างหน้ารักษาสิวอุดตัน ที่เหมาะสำหรับกลุ่มผิวธรรมดา และผิวมัน ด้วยประสิทธิภาพที่ช่วยสลายก้อนไขมันอุดตันในชั้นผิว ชะล้างเครื่องสำอางตกค้าง และสิ่งสกปรกจากมลภาวะได้อย่างหมดจด เพียงแค่ใช้ทำความสะอาดผิวหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก็หมดปัญหาสิวอุดตันกวนใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องผลข้างเคียง หรือการเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ เพราะไม่มีสารอันตรายอย่างแอลกอฮอล์ น้ำหอม พาราเบน สบู่ และ SLS เจลล้างหน้ารักษาสิวที่แพทย์ผิวหนัง และหมอสิวสั่งจ่ายมายาวนานมากกว่า 10 ปี เจลล้างหน้ารักษาสิวที่ดีที่สุด ช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิว ๆ ได้แน่นอ

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

เซอร์มิกซ์ เวชสำอางเพื่อผิวแพ้ง่าย อันดับ 1

ช้อปออนไลน์ที่

ช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ZERMIX

วันนี้ คุณสามารถซื้อสินค้าจากเซอร์มิกซ์ ได้ง่ายๆ บนช่องทางออนไลน์
และร้านขายยาชั้นนำในห้างสรรพสินค้า หรือ ร้านขายยาใกล้บ้านคุณ